Russia Country
ประวัติความเป็นมาของสหพันธรัฐรัสเซีย
ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก
ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐ ในสมัยกลาง
ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย
เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน พ.ศ. 1531 มีการรับศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซจากจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นการประสมวัฒนธรรมไบแซนไทน์และสลาฟซึ่งนิยามวัฒนธรรมรัสเซียเป็นเวลาอีกสหัสวรรษหน้า ท้ายที่สุด
รัฐล่มสลายเป็นรัฐขนาดเล็กหลายรัฐ
พื้นที่ส่วนใหญ่ขอรัฐถูกพิชิตโดยการรุกรานของมองโกล
และกลายเป็นรัฐบรรณาการของโกลเดนฮอร์ด เร่ร่อน อาณาจักรแกรนด์ ยุคแห่งมอสโกค่อย ๆ
รวมราชรัฐรัสเซียในละแวก ได้รับเอกราชจากโกลเดนฮอร์ด และมาครอบงำมรดกทางวัฒนธรรมและการเมืองของเคียฟรุส
จนคริสต์ศตวรรษที่ 18
รัสเซียได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางผ่านการพิชิตดินแดน การผนวก
และการสำรวจเป็นของจักรวรรดิรัสเซีย
นับเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดอันดับสามในประวัติศาสตร์ แผ่จากโปแลนด์ในยุโรปจรด
อลาสกาในอเมริกาเหนือ
หลังการปฏิวัติรัสเซีย
รัสเซียกลายมาเป็นสาธารณรัฐใหญ่ที่สุดและผู้นำในสหภาพโซเวียต
เป็นรัฐสังคมนิยมมีรัฐธรรมนูญแห่งแรกของโลกและอภิมหาอำนาจที่ได้การยอมรับ
ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง สมัยโซเวียตได้ประสบความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตวรรษ
ที่ 20
รวมทั้งการส่งมนุษย์
คนแรกขึ้นสู่อวกาศ
สหพันธรัฐรัสเซียก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534
แต่ได้รับการยอมรับเป็นสภาพบุคคลสืบทอดจากสหภาพโซเวียต
รัสเซียมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 11 ของโลกโดยจีดีพีมูลค่าตลาด
หรือใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ
โดยมีงบประมาณทางทหารมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจจัดอันดับรัสเซียเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9
ของโลกใน พ.ศ. 2554 ขึ้นจากอันดับที่ 10
ใน พ.ศ. 2553 รัสเซียเป็นหนึ่งในห้ารัฐอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการรับรองและครอบครองคลัง
แสงอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงใหญ่ที่สุดในโลก
รัสเซียเป็นมหาอำนาจและสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
สมาชิกจี 8 จี 20 สภายุโรปและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก
องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ประชาคมเศรษฐกิจยูเรเซีย
องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การการค้าโลก
และเป็นสมาชิกผู้นำเครือจักรภพรัฐเอกราช
สภาพทางภูมิศาสตร์
ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบ
ตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย
ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร
ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขต
เวลารัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลกและถูกเรียกว่าเป็น
"ปอดของยุโรป"เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่า
ดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้นรัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง
ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก
จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียเป็นที่ราบกว้างใหญ่
ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสเตปป์ มีป่าไม้มากทางตอนเหนือ
และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ เทือกเขาจะอยู่ตามชายแดนทางใต้
เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตร
และเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียและยุโรป หรือเทือกเขาอัลไต และทางตะวันออก
เช่นเทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา
เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีป
เอเชียและทวีปยุโรป รัสเซียมีชายฝั่งที่ยาวถึง 37,000 กิโลเมตร
ตามแนวมหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลบอลติก ทะเลอะซอฟ ทะเลดำ
และทะเลแคสเปียนนอกจากนั้น รัสเซียยังมีทางออกสู่ทะเลแบเร็นตส์ ทะเลขาว ทะเลคารา
ทะเลแลปทิฟ ทะเลไซบีเรียนตะวันออก ทะเลชุกชี ทะเลเบริง ทะเลโอค็อตสก์
และทะเลญี่ปุ่น เกาะและหมู่เกาะที่สำคัญได้แก่ หมู่เกาะโนวายาเซมเลีย
หมู่เกาะฟรัสซ์โยเซฟแลนด์ หมู่เกาะเซเวอร์นายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย
เกาะแวรงเกล เกาะคูริล และเกาะซาคาลิน เกาะดีโอมีด (ซึ่งเกาะหนึ่งปกครองโดยรัสเซีย
ส่วนอีกเกาะปกครองโดยสหรัฐอเมริกา) อยู่ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร
และเกาะคุนาชิร์ก็อยู่ห่างจากฮอกไกโดเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสหพันธรัฐรัสเซีย
ธงประจำชาติ
เมืองหลวง :
กรุงมอสโก (ประชากร 10,126,424 คน)
พื้นที่ :
17,075,200 ตารางกิโลเมตร
ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก ( ใหญ่กว่าประเทศไทยราว 33 เท่า )
โดยมีระยะทางจากด้านตะวันออกจรดตะวันตก 9,000
กิโลเมตร และจากด้านเหนือจรดใต้มีระยะทาง 4,000
กิโลเมตร
ภูมิอากาศ :
มี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูหนาว
และเนื่องจากเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่
ระดับอุณหภูมิจะแตกต่างตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปีของรัสเซียฝั่งยุโรป ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
ภาษาราชการ :
ภาษารัสเซีย
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือคริสตศาสนานิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย
(ร้อยละ 70) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม
(ร้อยละ 5.5) คริสตศาสนานิกายคาธอลิก
(ร้อยละ 1.8) และพุทธศาสนานิกายมหายาน
(ร้อยละ 0.6)
หน่วยเงินตรา :
รูเบิล(Russian
ruble-RUR) 1ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.57
รูเบิล (ค่าเฉลี่ยปี 2550)ระบอบการปกครอง
: สหพันธรัฐ
ประกอบด้วยหน่วยการปกครอง 84 หน่วย
แบ่งเป็น 21 สาธารณรัฐ
(Republic) 8 เขตการปกครอง
(Krai) 47 มณฑล
(Oblast) 2 นคร
(Federal cities)
ได้แก่ กรุงมอสโกและนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กซึ่งมีสถานภาพเดียวกับมณฑล
5 ภาคปกครองตนเอง
(Autonomous
Okrug) และ 1
มณฑลปกครองตนเอง (Autonomous Oblast)
สถานที่ท่องเที่ยวในรัสเซีย
จัตุรัสแดง
จัตุรัสแดง เป็นจัตุรัสกลางเมืองของของกรุงมอสโก
สหพันธรัฐรัสเซีย จัตุรัสแดงมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 695 เมตร มีขนาดพื้นที่รวม
23,100 ตารางเมตร
จัตุรัสแดงอาจถือได้ว่าเป็นจัตุรัสกลางกรุงมอสโกและทั้งประเทศรัสเซียเพราะถนนสายสำคัญทุกสายของกรุงมอสโกจะวิ่งตรงออกจากจัตุรัสแดงแห่งนี้
นอกจากนี้ จัตุรัสแดงยังเป็นสถานที่ตั้งของมหาวิหารเซนต์เบซิล และหลุมฝังศพ
ของวลาดิมีร์ เลนินอีกด้วย ชื่อจัตุรัสแดงมักเข้าใจผิดว่า คำว่า "แดง"
ในชื่อจัตุรัส มาจากสีของคอมมิวนิสต์ หรือสีของอิฐในบริเวณนั้นที่เป็นสีแดง
แต่แท้จริงแล้วชื่อจัตุรัสแดง มาจากภาษารัสเซีย คำว่า красный ซึ่งในภาษารัสเซียดั้งเดิมมีความหมายว่า สวยงาม
ในขณะที่ภาษารัสเซียสมัยใหม่ แปลว่า สีแดง
ประวัติสถานที่
จัตุรัสแดงถูกตั้งขึ้นในช่วงศตวรรษที่
15 ภายใต้พระราชโองการของพระเจ้าอีวานมหาราช การสร้างจัตุรัสแดงนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของพระราชวังเครมลินโดยการสร้างพื้นที่นอกกำแพงวังสำหรับใช้ยิงเพราะตำแหน่งที่จัตุรัสแดงตั้งอยู่นั้นขาดแนวป้องกันทางธรรมชาติ
โดยพื้นที่ของจัตุรัสแดงในสมัยนั้นถือเป็นศูนย์กลางของการค้าขาย ต่อมาในสมัยของพระเจ้าซาร์อีวานที่
4 มหาวิหารเซนต์เบซิล
มหาวิหารที่ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของจัตุรัสแดงในปัจจุบันก็ได้ถูกสร้างขึ้น
หลังจากนั้นจัตุรัสแดงก็ถูกปรับปรุงพื้นที่เรื่อยมา
จนกระทั่งหลังจากการรุกรานของฝรั่งเศสโดยนโปเลียน
มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น อาคารบางหลังและสิ่งปลูกสร้างสำหรับการค้าขายซึ่งถูกไฟไหม้ได้ถูกรื้อถอนออกและมีการสร้างสิ่งใหม่
ๆ ขึ้นแทน อาทิเช่น รถราง การประดับด้วยโคมไฟ ห้างสรรพสินค้า GUM เป็นต้น
สมัยสหภาพโซเวียต
จัตุรัสแดงใช้เป็นที่สำหรับการเดินสวนสนามแสดงแสนยานุภาพทางทหาร โดยจะมีการแสดงแสนยานุภาพทางการทหารสำหรับวันเมย์เดย์, วันแห่งชัยชนะ
และการปฏิวัติเดือนตุลาคม การเดินขบวนที่เด่น ๆ มีอยู่ 2
เหตุการณ์คือการเดินขบวนในปี ค.ศ. 1941 ซึ่งในเวลานั้น
สหภาพโซเวียตกำลังถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี ทหารที่มาเดินขบวนนั้น
หลังเสร็จสิ้นการเดินขบวนก็ถูกส่งตรงจากจัตุรัสแดงไปแนวหน้าทันที
และอีกครั้งคือการเดินขบวนใน ค.ศ. 1945
ซึ่งเป็นการเดินฉลองชัยชนะหลังจากที่นาซีเยอรมนียอมแพ้ต่อสหภาพโซเวียตแล้ว ต่อมาในปัจจุบัน
จัตุรัสแดงถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับการจัดแสดงของศิลปินและวงดนตรีชื่อดังหลายกลุ่มเช่น
ชากีรา วงสกอร์เปียนส์ พอล แม็กคาร์ตนีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ในเดือนมกราคม ค.ศ.
2008 รัสเซียได้ประกาศว่าจะกลับมาเดินขบวนอีกครั้งและในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน
ก็ได้มีการเดินขบวนเป็นครั้งแรกหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ล่าสุดในวันที่ 9
พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ในโอกาสครบรอบ 65 ปีของการยอมรับความพ่ายแพ้ของเยอรมนี
กองทหารจากฝรั่งเศส โปแลนด์
และสหราชอาณาจักรได้ร่วมกันเดินสวนสนามในวันแห่งชัยชนะที่มอสโกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
วิหารเซ็นไอแซค
วิหารเซ็นไอแซค (St. Isaac's Cathedral) เป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่ที่เมืองเซ็นปีเตอร์เบิร์ก
ประเทศรัสเซีย เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1818 แล้วเสร็จเมื่อปี
ค.ศ. 1858 เป็นหนึ่งในมหาวิหารที่สวยที่สุดของรัสเซีย สร้างในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่
1 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Auguste de
Montferrand ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 40 ปี
ประกอบด้วยเสาหินแกรนิต 48 ต้น น้ำหนักต้นละ 114 ตัน ถายในประดับประดาด้วยปฏิมากรรมบอร์น และภาพวาดกว่า 400 ชิ้น โดมทองอันสง่างามที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองด้วยขนาดมหึมาที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง
25.8 เมตรซึ่งเป็นอันดับที่ 4 ของโลกรองจากมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม
มหาวิหารเซนต์ปอลที่ลอนดอน และมหาวิหาร "สตา เดล ฟีออเร" ที่ฟลอเรนซ์
ประวัติของมหาวิหารเซนต์ไอแซค
มีมายาวนานเกือบกว่าสามศตวรรษ
เราจึงอาจกล่าวถึงประวัติของ มหาวิหารนี้โดยแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะคือ
ระยะแรก มหาวิหารนี้สร้างด้วยไม้ตั้งอยู่ที่แอดมิรัลตี้ (กองบัญชาการกองทัพเรือ) และในปีค.ศ. 1712
ได้ใฃ้ เป็นที่ประกอบพิธีอภิเษก สมรสของกษัตริย์ปีเตอร์มหาราช และพระนางแคทเธอรีน
ระยะที่สอง มหาวิหารตั้งอยู่ที่ลานดีเซมบริสต์ มหาวิหารสร้างด้วยหิน และกษัตริย์ปีเตอร์มหาราชทรงวางศิลาฤกษ์ ด้วยพระองค์เองเมื่อปีค.ศ. 1717 แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ขึ้น
ระยะที่สาม พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ก่อสร้างมหาวิหารนี้ขึ้นมาใหม่ มหาวิหารเซนต์ไอแซค ที่เห็นในปัจจุบัน ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศสชื่อ มองต์แฟรองด์ (August de Montferrand) ซึ่งนายมองต์แฟรองด์เป็นสถาปนิกคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงได้ในประเทศรัสเซียแต่สำหรับประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเขา เขากลับไม่โด่งดังและไม่มีผู้ใดเลยที่รู้จักเขาในนามสถาปนิก ผู้มีฝีมือดีคนหนึ่งจนกระทั่งได้เดินทางมาสร้างผลงานที่ประเทศรัสเซีย และผลงานชิ้นแรกของเขาซึ่ง เขาเคยมีผลงานการออกแบบมาแล้วคือ เสาอเล็กซานเดอร์ ที่ลานพระราชวังฤดูหนาวแต่การออกแบบที่มหาวิหารเซนต์ไอแซค กลับทำให้ชื่อเสียงของ เขาโด่งดังไปทั่วโลกโดยใช้เวลา ก่อสร้างนานถึง 40 ปีลักษณะของการออกแบบมหาวิหารเซนต์ไอแซคนี้มีการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรเนอซองส์ และบาโรค
ระยะที่สอง มหาวิหารตั้งอยู่ที่ลานดีเซมบริสต์ มหาวิหารสร้างด้วยหิน และกษัตริย์ปีเตอร์มหาราชทรงวางศิลาฤกษ์ ด้วยพระองค์เองเมื่อปีค.ศ. 1717 แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ขึ้น
ระยะที่สาม พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้ก่อสร้างมหาวิหารนี้ขึ้นมาใหม่ มหาวิหารเซนต์ไอแซค ที่เห็นในปัจจุบัน ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศสชื่อ มองต์แฟรองด์ (August de Montferrand) ซึ่งนายมองต์แฟรองด์เป็นสถาปนิกคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงได้ในประเทศรัสเซียแต่สำหรับประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเขา เขากลับไม่โด่งดังและไม่มีผู้ใดเลยที่รู้จักเขาในนามสถาปนิก ผู้มีฝีมือดีคนหนึ่งจนกระทั่งได้เดินทางมาสร้างผลงานที่ประเทศรัสเซีย และผลงานชิ้นแรกของเขาซึ่ง เขาเคยมีผลงานการออกแบบมาแล้วคือ เสาอเล็กซานเดอร์ ที่ลานพระราชวังฤดูหนาวแต่การออกแบบที่มหาวิหารเซนต์ไอแซค กลับทำให้ชื่อเสียงของ เขาโด่งดังไปทั่วโลกโดยใช้เวลา ก่อสร้างนานถึง 40 ปีลักษณะของการออกแบบมหาวิหารเซนต์ไอแซคนี้มีการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมแบบเรเนอซองส์ และบาโรค
- การประดับด้วยภาพไอคอน(Icon) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเป็นรูป เซนต์นิโคลาสเซนต์ปีเตอร์
ซึ่งการทำโมเสกนี้ใช้เวลานานมากถ้าหากคิดเป็นตารางเมตรเมตรหนึ่งใช้เวลาร่วม ปี ใช้สีหมื่นกว่าสี และใช้เงิน มากถึง 23 รูเบิลและภาพ เฟรสโก แต่ปัจจุบันต้องยกเลิกการทำโมเสกเพราะเนื่องจากต้องใช้ต้นทุนสูงมากใน การทำโมเสกขึ้นมาแต่ละชิ้นงานและใช้ระยะเวลานาน
- ภาพแกะสลักนูนต่ำ
- แร่หินชนิดต่างๆ เช่น เสาหินมาลาไคต์และหินอื่นๆจากเทือกเขาอูราล
- รูปหล่อสำริด
- รูปแกะสลักด้วยหินอ่อน เช่น รูปของนายมองต์แฟรองด์ สถาปนิกชาวฝรั่งเศส
- ประตูที่ทำจากไม้โอ๊กและทำการติดรูปสลักซึ่งทำมาจากทองแดงมีความสวยงามและ ใหญ่โตและเป็นโบสถ์ ออร์โทดอกซ์แห่งเดียวที่ ประดับประดาตกแต่งด้วยกระจกสี
โบสถ์คาซาน
โบสถ์คาซาน (Kazan Cathedral) มหาวิหารคาซาน
ตั้งอยู่บนถนนเนฟสกี้ ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักของตัวเมือง
มหาวิหารคาซานทำการสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ตรงกับช่วงปีค.ศ. 1708
ซึ่งแต่เดิมนั้นจัดได้เพียงว่าเป็นโบสถ์เล็กๆเท่านั้น
โดยภายในมีรูปไอคอนและพระแม่มาเรีย (Our
Lady Of Kazan) ที่วาดขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 16
ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอีวานที่ 4
ในช่วงที่กรุงมอสโกก่อตั้งเป็นเมืองหลวง
โดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชได้มีพระราชดำรัสให้นำรูปไอคอนและพระแม่มาเรียนมา
ได้ที่นี่ ต่อมาในสมัยการปกครองของพระเจ้าปอลด์ที่ 1 ในปีค.ศ. 1800
ได้ทำการสร้างวิหารใหม่ให้เป็นวิหารที่ใหญ่ขึ้น และสวยงามกว่าเดิม
เนื่องจากที่ว่าหลังจากที่พระองค์เสด็จประพาส ณ
กรุงโรมที่อิตาลีแล้วพระองค์ทรงเกิดความประทับใจในรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบ อิตาลี
พระองค์จึงได้นำรูปแบบดังกล่าวนั้นมาผสมผสานในการก่อสร้างมหาวิหารหลังใหม่
นี้มหาวิหารคาซานหลังใหม่นี้ สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 1811 ออกแบบโดยสถาปนิก คือ -
Charles Camelon - Thomas de Thomon - Pietro Gonzago โบสถ์คาซาน
เป็นสถาปัตยกรรมในรูปศิลปะแบบนีโอคลาสสิก เป็นลักษณะรูปทรงครึ่งวงกลม
มีเสาหินวางเรียงแถวยาวอย่างเป็นระเบียบหลังจาก 10 ปี แห่งการก่อสร้าง
มหาวิทยาลัยคาซานกลายเป็นสถานที่เพื่อมาสักการะบูชาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากสาเหตุหนึ่งมาจากเพราะตั้งอยู่ในใจกลางเมือง จึงทำให้ประชาชน
หรือนักท่องเที่ยวพบเห็นได้ง่าย
และด้วยความสวยงามของมหาวิหารที่มักจะเป็นที่สะดุดตาของผู้พบเห็นแต่ในปีค .ศ. 1812 เกิดสงครามระหว่างรัสเซียกับฝรั่งเศสขึ้น
จึงได้นำรูปปั้นของผู้บังคับบัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพเรือ คือ Mikhail Kutuzov และ
Barclay de
Tolly มาจัดแสดงเป็นอนุสรณ์ไว้ ณ
ที่มหาวิหารคาซานนี้ด้วยซึ่งปัจจุบันมหาวิหารคาซานจัดได้เป็นมหาวิหารอีก
หนึ่งสถานที่ในนครเซนต์ปีเตอร์เบิร์กที่มีความสวยงาม และมีประวัติที่สำคัญ
โดยด้านหน้าของมหาวิหารจะมีสวนสาธารณะไว้สำหรับเป็นที่พักผ่อนของชาวรัสเซีย
ป้อมปีเตอร์แอนด์ปอล
ป้อมปีเตอร์แอนด์ปอล
(Peter and Paul Fortress) ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก
ประเทศรัสเซีย เป็นจุดกำเนิดของนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ใช้ชื่อของนักบุญปีเตอร์และนักบุญปอล
2 สาวกของพระผู้เป็นเจ้า สร้างโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราช เมื่อวันที่
27 พฤษภาคม 1703 เป็นสถาปัตยกรรมแบบบาโรก
พื้นที่ดั้งเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพวกนอฟโกรอส ใช้เวลาในการสร้าง 40 วัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาไว้ป้องกันของทหารสวีเดน แต่เมื่อป้อมเสร็จก็ไม่ได้ใช้งาน
เนื่องจากทหารสวีเดนไม่ได้รุกรานอีกเลย เคยใช้เป็นที่คุมขัง ซาร์เรวิช อเล็กซิส ( Tsarevich
Alexis ) โอรสองค์โตของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ซึ่งมีความคิดไม่ลงลอยกับพระราชบิดาจึงถูกลงทัณฑ์และสิ้พระชนม์ที่นี่
องค์ประกอบทางศิลปะ
ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ในบริเวณป้อมมีหอระฆังซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดของเซนต์ปี
เตอร์สเบิร์ก สูง 122.5
เมตร มีวิหารศักดิ์สิทธิ์ และมหาวิหารปีเตอร์และปอลที่ใช้เวลาสร้าง 21
ปี ภายในมีพรศพของกาตริย์แห่งรัสเซียพระองค์แรกที่ฝังอยู่ที่นี่คือพระเจ้าปีเตอร์มหาราชรวมทั้งมีหลุมฝังพระศพของราชวงศ์โรมานอฟหลายพระองค์โดยเฉพาะ
กษัตริย์โรมานอฟยุคสุดท้ายคือพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ที่ถูกสังหารทั้งครอบครัว
โลงส่วนใหญ่เป็นโลงหินอ่อนสีขาวแต่มีอยู่ 2 โลงที่เป็นหินอ่อนสีเขียวและสีแดง
เป็นโลงศพของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 กับพระนางมารี
อเล็กซานดรอฟนา เจ้าหญิงจากเยอรมัน พระมเหสี หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช
ตัวโบสถ์ได้เปลี่ยนเป็นที่เก็บพระศพของพระองค์และองค์ต่อๆ มา
รวมทั้งพระเจ้าซาร์นิโลลัสที่ 2 ซึ่งเป็นพระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงค์โรมานอฟ
และครอบครัว ซึ่งเพิ่งอัญเชิญพระศพมาไว้เมื่อปี ค.ศ. 1998 ประกอบด้วยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่
2 พระนางอะเล็กซานดร้า พระธิดา 3 พระองค์
คือ โอลก้า ทาเทียน่า อนาสตาเซีย ส่วนที่ไม่พบคือ พระธิดามาเรีย และพระโอรสอเล็กซิส
ของที่ระลึก
1. ตุ๊กตาแม่ลูกดก ต้น กำเนิดของตุ๊กตาแม่ลูกดกนั้น มีการเล่าต่อ
ๆ กันมาเป็นสองทางด้วยกัน ทางหนึ่งว่า
พระชาวรัสเซียเป็นบุคคลแรกที่นำวิชาทำตุ๊กตาไม้ไปจาก เกาะฮอนชูของญี่ปุ่น
และเมื่อมาถึงรัสเซียก็ผสมผสานรูปแบบเข้ากับศิลปะท้องถิ่น เช่นแนวคิดในการซ้อนตุ๊กตาที่คุ้นเคยกันดีในรัสเซีย
และประยุกต์เข้ากับงานประดิษฐ์แอปเปิ้ลไม้ รวมถึงไข่อีสเตอร์
จากนั้นจึงตั้งชื่อขึ้นใหม่ว่า “มาตรีโอสคา”
2.
คาเวียร์ หรือบางทีจะเรียก ไข่ปลาคาเวียร์
(caviar) เป็นไข่ปลาที่ผ่านการปรุงรสโดยไข่มาจากปลาหลากหลายประเภท โดยส่วนมากนิยมนำมาจากไข่ปลาสเตอร์เจียน
คาเวียร์ได้มีการโฆษณาและได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่อร่อยที่สุดใน โลก
คำว่า คาเวียร์มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า خاگآور (Khag-avar) ซึ่งมีความหมายว่า
"ไข่ปลาที่ปรุงรส" โดยในแถบเปอร์เซียจะ
ใช้หมายถึงปลาสเตอร์เจียน
3.
เหล้าวอดก้ารัสเซีย เหล้าวอดก้าในรัสเซียเริ่มกำเนิดในศตวรรษที่
12 ในยุคนั้นการทำเหล้าวอดก้าได้ผลิตน้อย จนศตวรรษที่ 14 ชาวรัสเซียจึงได้นิยมดื่มเหล้าวอดก้ากัน และเริ่มมีการผลิตเหล้าพันธุ์นี้กันอย่างเป็นแพร่หลาย ในรัสเซีย การผลิตเหล้าวอดก้านอกจากใช้ธัญญาพืชนานาชนิดเป็นวัตถุดิบแล้ว ผู้ต้มเหล้าบางคนก็ทำวอดก้าจากน้ำมะเขือเทศด้วย เหล้าวอดก้าของรัสเซียส่วนมากดีกรีสูงจัดและไร้กลิ่นรสของวัตถูดิบขบวน เหล้าวอดก้าที่ผลิตกันในหลาย
ๆ ประเทศเหล้าวอดก้าของรัสเซียมีดีกรีสูงสุดบางขวดสูงถึง
95 ดีกรีระบบยุโรป
อาหารประจำชาติ รัสเซีย
อาหารรัสเซียได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่อุดมสมบูรณ์ด้วยคุณค่าทางโภชนาการ
ทั้งวิธีการทำก็แสนง่ายและไม่มีเครื่องปรุงแต่อย่างใด ส่วนประกอบหลักของอาหารรัสเซีย
ได้แก่ พวกธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวไร บาร์เร่ ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง และข้าวสาลี จึงไม่น่าแปลกใจที่ขนมปังจะเป็นอาหารหลักของคนรัสเซีย
ส่วนพายมักทำกันในช่วงเทศกาล หรือวันหยุด ไส้ที่นิยมได้แก่ ปลา เนื้อ และเบอร์รี่
คนรัสเซียชอบกินผักมาก ไม่ว่าจะเป็นกะหล่ำปลี หัวผักกาด แตงกวา โดยนิยมทำเป็นผักสลัด กินกับน้ำสลัดรสเปรี้ยว อย่างไรก็ตามสิ่งที่ชาวรัสเซียนิยมมากอีกชนิดหนึ่ง คือ มันฝรั่ง
หากมองย้อนไป รัสเซียเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์ที่เคร่ง ครัดมาก มากกว่า 200 วันในหนึ่งปี ที่คนรัสเซีย ผู้ที่นับถือนิกายออร์โทดอกซ์งดกิน เนื้อ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทั้งหลาย และการที่จะทำให้อาหารที่มีแต่ผักมีรสชาตมากยิ่งขึ้น จึงต้องใช้เครื่องเทศ เป็นส่วนประกอบ ทำให้ติดรุปแบบการบริโภคมาจนทุกวันนี้
เครื่องเทศที่คนรัสเซียนิยมมากที่สุดคือ อบเซย พริกไทย กานพลู และที่ขาดไม่ได้คือหอมหัวใหญ่ คนรัสเซียแบ่งอาหารของตัวเองออกเป็น 2 ประเภท คือ อาหารประจำวัน ที่เน้นความง่าย ใช้เวลาปรุงไม่นาน กับอาหารที่เป็นทางการที่ต้องพิถีพิถันเครื่องปรุงและใช้เวลาในการทำมากขึ้น การได้กินอาหารรัสเซียแท้ๆ จึงเสมือนคุณกำลังได้เรียนรู้วัฒนธรรมของคนรัสเซียไปขณะเดียวกัน
คนรัสเซียชอบกินผักมาก ไม่ว่าจะเป็นกะหล่ำปลี หัวผักกาด แตงกวา โดยนิยมทำเป็นผักสลัด กินกับน้ำสลัดรสเปรี้ยว อย่างไรก็ตามสิ่งที่ชาวรัสเซียนิยมมากอีกชนิดหนึ่ง คือ มันฝรั่ง
หากมองย้อนไป รัสเซียเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โทดอกซ์ที่เคร่ง ครัดมาก มากกว่า 200 วันในหนึ่งปี ที่คนรัสเซีย ผู้ที่นับถือนิกายออร์โทดอกซ์งดกิน เนื้อ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมทั้งหลาย และการที่จะทำให้อาหารที่มีแต่ผักมีรสชาตมากยิ่งขึ้น จึงต้องใช้เครื่องเทศ เป็นส่วนประกอบ ทำให้ติดรุปแบบการบริโภคมาจนทุกวันนี้
เครื่องเทศที่คนรัสเซียนิยมมากที่สุดคือ อบเซย พริกไทย กานพลู และที่ขาดไม่ได้คือหอมหัวใหญ่ คนรัสเซียแบ่งอาหารของตัวเองออกเป็น 2 ประเภท คือ อาหารประจำวัน ที่เน้นความง่าย ใช้เวลาปรุงไม่นาน กับอาหารที่เป็นทางการที่ต้องพิถีพิถันเครื่องปรุงและใช้เวลาในการทำมากขึ้น การได้กินอาหารรัสเซียแท้ๆ จึงเสมือนคุณกำลังได้เรียนรู้วัฒนธรรมของคนรัสเซียไปขณะเดียวกัน
อาหารหลักของรัสเซีย ประกอบไปด้วย ขนมปังดำ มันฝรั่ง เนื้อสัตว์ เนย ไส้กรอก นม
ซุปจืด ผักดอง ส่วนเครื่องดื่มก็จะมี ว้อดก้า น้ำควาซ (Kvas) ทำมาจากการหมักขนมปังดำกับยีสต์
มีรสชาติคล้ายกับเบียร์ สีเหลืองเข้มคล้ายกับน้ำมะนาว ใส่โซดา แต่มีแอลกอฮอล์น้อย
ชาวรัสเซียส่วนใหญ่นิยมดื่มชามากที่สุด
อาหารรัสเซียทั่วไป ประกอบด้วย สลัดผัก ซุปจืด ผักดอง อาหารจานหลักเป็นเนื้อสัตว์
เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อปลา กับมันฝรั่งบดต้ม หรือผัด
นอกจากนี้ก็ยังมีไขปลาคาเวียร์ ปลารมควัน ขนมปังเนย ซุปเซอซิ ชา กาแฟ และของหวาน
เช่น เค้ก หรือไอศกรีมและผลไม้ตามฤดูกาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น