วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Post-Impressionism

Post-Impressionism

           ศิลปะแบบโพสต์ อิมเพรสชันมิสม์  จะมุ่งการแสดงออกทางความรู้สึก  อารมณ์  จิตวิญญาณมากกว่ามุ่งนำเสนอความเป็นจริงทางวัตถุ  สื่อผ่านการใช้สีที่รุนแรงและเกินความเป็นจริง โดยเน้นความพอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือกฏเกณฑ์ และธรรมเนียมใด ๆ ในอดีตเลย   สีที่ใช้นั้นจะสื่อถึงพลังที่ถูกบีบคั้นบังคับกดดันที่อยู่ในความรู้สึกนึก คิดของจิตใจคน  เป็นการปดปล่อยอารมณ์ผ่านสี และฝีแปรงที่ให้ความรู้สึกที่รุนแรงกดดัน ฝีแปรงที่อิสระ

ที่มาของ Post-Impressionism
เป็นคำที่คิดขึ้นโดยศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษโรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ในปี ค.ศ. 1910 เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกร อิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังยังคงสร้างงานศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีจิตรกรต้องการจะใช้
           ต่อมาฟรายให้คำอธิบายในการใช้คำว่า อิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังว่าเป็นการใช้  เพื่อความสะดวก ที่จำเป็นต้องตั้งชื่อให้ศิลปินกลุ่มนี้โดยใช้ชื่อที่มีความหมายกว้างที่ไม่บ่งเฉพาะเจาะจงถึงแนวเขียน ชื่อที่เลือกก็คือ Post-Impressionismเป็นการแสดงการแยกตัวของศิลปินกลุ่มนี้แต่ยังแสดงความสัมพันธ์บางอย่างกับขบวนการอิมเพรสชันนิสม์เดิม

การจัดช่วงเวลา
           เรวอลด์กล่าวว่าคำว่า ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังเป็นคำที่ตั้งขึ้นเพื่อความสะดวกและมิได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงลักษณะการเขียนแต่อย่างใด และเป็นคำที่ใช้ที่จำกัดเฉพาะทัศนศิลป์ของฝรั่งเศสที่วิวัฒนาการมาจากศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ตั้งแต่ ค.ศ. 1886 วิธีเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังของเรวอลด์เป็นการเขียนตามที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นการวิจัยลักษณะของศิลปะ เรวอลด์ทิ้งไวให้ศิลปะเป็นเครื่องตัดสินตัวเองในอนาคต[4] คำอื่นเช่นสมัยใหม่นิยม (Modernism) หรือลัทธิสัญลักษณ์นิยมก็เป็นคำที่ยากที่จะใช้เพราะเป็นคำที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับศิลปะแต่ครอบคลุมสาขาวิชาอื่นด้วยเช่นวรรณกรรมหรือสถาปัตยกรรมและเป็นคำที่ขยายออกไปใช้ในหลายประเทศ

ลัทธิสมัยใหม่นิยม เป็นคำที่หมายถึงขบวนการทางศิลปะนานาชาติที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันตกที่เริ่มมาจากฝรั่งเศสและถอยหลังไปถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสจนถึงยุคภูมิปัญญา
ลัทธิสัญลักษณ์นิยม เป็นขบวนการที่เริ่มร้อยปีต่อมาในฝรั่งเศสและเป็นนัยว่าเป็นแนวที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล จิตรกรต่างก็ใช้สัญลักษณ์ในการเขียนไม่ว่าอย่างใดก็อย่างหนึ่งมากบ้างน้อยบ้าง

แอแลน โบวเนส (Alan Bowness) ยืดเวลา ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังไปจนถึง ค.ศ. 1914 แต่จำกัดการเขียนในฝรั่งเศสลงไปอย่างมากในคริสต์ทศวรรษ 1890 ประเทศยุโรปอื่น ๆ ใช้มาตรฐานของ ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังส่วนศิลปะของยุโรปตะวันออกไม่รวมอยู่ในกลุ่มนี้
แม้ว่า ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังจะแยกจาก ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ใน ค.ศ. 1886 แต่จุดจบของ ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังยังไม่เป็นที่ตกลงกัน สำหรับโบวเนสและเรวอลด์แล้ว ลัทธิคิวบิสม์เป็นการเริ่มยุคใหม่ ฉะนั้นลัทธิคิวบิสม์จึงถือว่าเป็นการเริ่มยุคการเขียนใหม่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นและต่อมาในประเทศอื่น ขณะเดียวกันศิลปินยุโรปตะวันออกไม่คำนึงถึงการแบ่งแยกตระกูลการเขียนที่ใช้ในศิลปะตะวันตกก็ยังเขียนตามแบบที่เรียกว่าจิตรกรรมแอ็บสแตร็ค และอนุตรนิยม (Suprematism)—ซึ่งเป็นคำที่ใช้ต่อมาจนในคริสต์ศตวรรษที่ 20

ศิลปินในกลุ่มนี้ได้แก่

แวนโกะ (Vincent Van Gogh)


Pierre Bonnard


Paul Cezanne


Paul Gauguin


ภาพวาดในสมัย Post-Impressionism




The Starry Night Van Goh 1889



Paul Cezanne. The Cardplayers. 1885-1890




Paul Gauguin.
Where do we come from ? What are we? Where are we going? 1897






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น